วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รูปเล่มไฟล์ PDF และสื่อวีดีทัศน์ (Link)


Link สำหรับดาวน์โหลดรูปเล่ม PDF

http://www.drop4shared.com//d35bb0e8



Link สื่อวีดีทัศน์

บทที่ 1-5


บทที่ 1

บทนำ

หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยปัจจุบัน วีดิทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่มีบทบาทมาก จากลักษณะของสื่อที่ใช้งานง่าย สามารถสร้างความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน หรือการบันทึกภาพข่าวหรือการแสดง สามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้และยังสามารถบันทึกกิจกรรมหรือผลิตสื่อในการนำเสนอหน่วยงานได้ ในปัจจุบันอุปกรณ์ในการถ่ายทำสามารถหาได้ง่าย ราคาไม่สูง การผลิตสามารถทำได้โดยใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอลที่สามารถถ่ายวีดิทัศน์ได้ หรือใช้กล้องวีดิทัศน์ ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมตัดต่อ ด้วยโปรแกรมที่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โครงงานนี้จึงมุ่งเน้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องระบบสุริยะมากยิ่งขึ้น

คำว่า ระบบสุริยะควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า ระบบสุริยะจักรวาลอย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่าจักรวาล ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน ระบบสุริยะ ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์

อย่างไรก็ตามการจัดทำการพัฒนาสื่อเรื่องนี้ได้ศึกษาค้นคว้า และรวบรวมเนื้อหาการจัดทำเป็นสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาโดยทำเนื้อหาให้น่าสนใจมากขึ้น เพราะเด็กไทยในยุคปัจจุบันมักจะเคร่งเครียดเมื่อเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยเป็นปัญหาที่ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์นั้นไม่น่าเรียน หรือไม่คิดอยากจะเรียนอีกเลย  ข้าพเจ้าได้คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการทำสื่อการเรียนการสอนในครั้งนี้  จะทำให้วิชาวิทยาศาสตร์น่าสนใจ มากขึ้นกว่าเดิม



วัตถุประสงค์

                1.   เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาและเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์  สามารถเรียนในสื่อรูปแบบวีดีทัศน์

2. เพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำความเข้าใจได้เองแบบง่ายๆ ทำให้วิชาวิทยาศาสตร์ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

                3.    เพื่อส่งเสริมการศึกษาเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เรื่องระบบสุริยะ

                4.    เพื่อนำความรู้ที่ผู้จัดทำมีอยู่  ไปสร้างสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคม


สมมติฐานของการศึกษา

ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และความพึงพอใจจากการศึกษาสื่อวีดีทัศน์ เรื่องระบบสุริยะ ได้ด้วยตนเองและนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเรียนรู้ของตนเอง


ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น

5 มกราคม - 30 เมษายน พ.ศ.2558






บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                ในการจัดทำโครงงาน  การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์เพื่อการศึกษา  เรื่องระบบสุริยะ  ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารและเนื้อหาจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
                2.1  ระบบสุริยะ
                2.2  บริวารของดวงอาทิตย์
                2.3  ดาวหาง
                2.4  อุกาบาต ดาวตก
2.1  ระบบสุริยะ
                ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่างระบบสุริยะที่โลกของเรา เป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
                ระบบสุริยะที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับจากในสุดคือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  โลก  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัส  ดาวเสาร์  ดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูน  ดาวพลูโต และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (sattelites) ยกเว้นเพียงสองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร นอกจากนี้ยังมีดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก  เมื่อเทียบระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ซึ่งมีระยะทางประมาณ 149 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (astronomy unit - au)  กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจรของดาวพลูโตดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกลเป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออกไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย
              ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าร้อยละ 99 ของมวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือนอกนั้นจะเป็นมวลของเทหวัตถุต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุมระบบสุริยะให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงานออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรีต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตันต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์จะยังคงแพร่พลังงานออกมาในอัตราที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี
ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่านั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ  ดาวศุกร์  ดาวอังคาร  ดาวพฤหัส  ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเรา ตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส   ดาวเนปจูน  ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง
ระบบสุริยะของเรามีขนาดใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับโลกที่เราอาศัยอยู่ แต่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับกาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีทางช้างเผือก ระบบสุริยะตั้งอยู่ในบริเวณวงแขนของกาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way) ที่ชื่อแขนโอไลออน ซึ่งเปรียบเสมือนวงล้อยักษ์ที่หมุนอยู่ในอวกาศ โดยระบบสุริยะจะอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 30,000 ปีแสง ระนาบของระบบสุริยะเอียงทำมุมกับระนาบของกาแลกซี่ประมาณ 60 องศา ดวงอาทิตย์จะใช้เวลาประมาณ 225 ล้านปี ในการเคลื่อนครบรอบจุดศูนย์กลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกครบ 1 รอบ นักดาราศาสตร์จึงมีความเห็นร่วมกันว่า เทหวัตถุทั้งมวลในระบบสุริยะ ไม่ว่าจะเป็นดาวเคราะห์ทุกดวง ดวงจันทร์ของ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต เกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน มีอายุเท่ากันตามทฤษฎีจุดกำเนิดของระบบสุริยะ และจากการนำเอาหินจากดวงจันทร์มาวิเคราะห์การสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ทราบว่าดวงจันทร์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี ในขณะเดียวกันนักธรณีวิทยาก็ได้คำนวณ หาอายุของหินบนผิวโลก จากการสลายตัวของอะตอมธาตุยูเรเนียม และสารไอโซโทปของธาตุตะกั่ว ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า โลก ดวงจันทร์ อุกกาบาต มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี และอายุของ ระบบสุริยะนับตั้งแต่เริ่มเกิดจากฝุ่นละอองก๊าซในอวกาศจึงมีอายุไม่เกิน 5,000 ล้านปี   ในบรรดาสมาชิกของระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ของดาวเคราะห์ดาวหาง อุกกาบาต สะเก็ดดาว รวมทั้งฝุ่นละองก๊าซ อีกมากมาย นั้นดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ 9 ดวง จะได้รับความสนใจมากที่สุดจากนักดาราศาสตร์
2.2  บริวารของดวงอาทิตย์
                บริวารของดวงอาทิตย์จะโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์  ได้แก่ดาวเคราะห์ 8 ดวง  ดวงจันทร์ที่เป็นบริวารดาวเคราะห์  ดาวเคราะห์แคระ  ดาวเคราะห์น้อย  ดาวหาง  และวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ
                ดาวเคราะห์ทั้ง  8  ดวง  ได้แก่
  1. ดาวพุธ (Mercury) เป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด เป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก และไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร โครงสร้างภายในของดาวพุธประกอบไปด้วยแกนเหล็กขนาดใหญ่มีรัศมีประมาณ 1,800 ถึง 1,900 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชั้นที่เป็นซิลิเกต (ในทำนองเดียวกับที่แกนของโลกถูกห่อหุ้มด้วยแมนเทิลและเปลือก) ซึ่งหนาเพียง 500 ถึง 600 กิโลเมตร บางส่วนของแกนอาจจะยังหลอมละลายอยู่
    ในปี พ.ศ.2517 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานมารีเนอร์ 10 ไปสำรวจและทำแผนที่พื้นผิวดาวพุธเป็นครั้งแรก แต่เนื่องจากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก จึงสามารถทำแผนที่ได้เพียงร้อยละ 45 ของพื้นที่ทั้งหมด  พื้นผิวดาวพุธเต็มไปด้วยหลุมบ่อมากมายคล้ายกับพื้นผิวดวงจันทร์ มีเทือกเขาสูงใหญ่และแอ่งที่ราบขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป แอ่งที่ราบแคลอริสมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,300 กิโลเมตร นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า แอ่งที่ราบขนาดใหญ่เช่นนี้เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ
    ดาวพุธไม่มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้ม ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มาก กลางวันจึงมีอุณหภูมิสูงถึง 430 °C  แต่กลางคืนอุณหภูมิลดเหลือเพียง -180°C อุณหภูมิกลางวันกลางคืนแตกต่างกันถึง 610°C
       ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 57.91 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 87.97 วัน
-  ความรีของวงโคจร 0.206
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี
-  แกนเอียง
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 58.65 วัน
-  รัศมีของดาว 2,440 กิโลเมตร
-  มวล 0.055 ของโลก
-  ความหนาแน่น 0.98 ของโลก
-  แรงโน้มถ่วง 0.38 ของโลก
-  องค์ประกอบของบรรยากาศที่เบาบางมาก ไฮโดรเจน, ฮีเลียม, โซเเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม
-  อุณหภูมิ  -180°C ถึง 430°C
-  ไม่มีดวงจันทร์​
-  ไม่มีวงแหวน
2)     ดาวศุกร์ (Venus) อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ไม่มีดวงจันทร์บริวาร ดาวศุกร์มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับโลก จนได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลกของเรา โครงสร้างภายในของดาวศุกร์ ประกอบด้วย แกนกลางที่เป็นเหล็กมีรัศมีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร และเปลือกแข็งที่ประกอบด้วยหินซิลิเกต
                           ยานอวกาศลำแรกที่เดินทางไปดาวศุกร์คือ มาริเนอร์ 2 ในปี พ.ศ.2505 หลังจากนั้นก็มีอีกหลายลำ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 ยานอวกาศแมกเจลแลนได้ใช้เรดาร์ในการสำรวจผ่านชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์เพื่อทำแผนที่พื้นผิวของดาว การสำรวจโดยใช้สัญญาณเรดาร์ทำให้ทราบระดับสูงของพื้นผิวดาวศุกร์ และพบว่าพื้นผิวดาวศุกร์ปกคลุมไปด้วยภูเขาไฟใหญ่และที่ราบที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟหลายแห่ง นอกจากนี้ยังพบว่า พื้นผิวดาวศุกร์ไม่มีหลุมอุกกาบาตขนาดเล็ก เนื่องจากว่า อุกกาบาตจะถูกเผาไหม้ไปจนหมดในระหว่างที่ตกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่หนาแน่นของดาวศุกร์
                           ชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์นั้นมีความหนาแน่นมาก ความกดอากาศบนพื้นผิวดาวศุกร์สูงกว่าความกดอากาศบนพื้นผิวโลก 90 เท่า หรือมีค่าเท่ากับความดันที่ใต้ทะเลลึก 1 กิโลเมตร  บรรยากาศของดาวศุกร์ประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ และมีชั้นเมฆอยู่หลายชั้นที่ประกอบไปด้วยแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (กรดกำมะถัน) ซึ่งมีความหนาหลายกิโลเมตร ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นพื้นผิวดาวศุกร์  ชั้นบรรยากาศที่หนาทึบทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกกักเก็บความร้อนไว้ ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงถึง 470°C  จะเห็นได้ว่าพื้นผิวดาวศุกร์ร้อนกว่าพื้นผิวดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์กว่าดาวพุธถึงสองเท่าก็ตาม
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 108.21 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 224.70 วัน
-  ความรีของวงโคจร 0.0068
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 3.39°
-  แกนเอียง 177.3°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243.02 วัน (หมุนย้อนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่น)
-  รัศมีของดาว 6,052 กิโลเมตร
-  มวล 0.815 ของโลก
-  ความหนาแน่น 0.95 ของโลก
-  แรงโน้มถ่วง 0.91 ของโลก
- องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์
- อุณหภูมิพื้นผิว  470°C
- ไม่มีดวงจันทร์​ ไม่มีวงแหวน
3)    โลก (The Earth)  เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลมแป้นมีรัศมีเฉลี่ย 6,371 กิโลเมตร โครงสร้างภายในของโลกประกอบไปด้วยแก่นชั้นในที่เป็นเหล็ก มีรัศมีประมาณ 1,200 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยแก่นชั้นนอกที่เป็นของเหลว (Liquid) ประกอบด้วยเหล็กและนิเกิล มีความหนาประมาณ 2,200 กิโลเมตร ถัดขึ้นมาเป็นชั้นแมนเทิลซึ่งเป็นของแข็งเนื้ออ่อนที่ยืดหยุ่นได้ (Plastic) ประกอบไปด้วย เหล็ก แมกนีเซียม ซิลิกอน และธาตุอื่นๆ มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร เปลือกโลกเป็นของแข็ง (Solid) มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเฟลด์สปาร์ และควอตช์ (ซิลิกอนไดออกไซด์)
        บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 77 % ออกซิเจน 21% ที่เหลือเป็นอาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ  คาร์บอนไดออกไซด์ช่วยในการกักเก็บความร้อนไว้ภายใต้ชั้นบรรยากาศโดยอาศัยภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกมีความอบอุ่น ไม่หนาวเย็นจนเกินไปสำหรับสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามถ้าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นมากขึ้นก็จะทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซึ่งอาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้
        นอกจากนี้โลกยังมีสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของแก่นชั้นนอกซึ่งเป็นเหล็กเหลว ถึงแม้ว่าสนามแม่เหล็กโลกจะมีความเข้มไม่มาก  แต่ก็ช่วยปกป้องไม่ให้อนุภาคที่มีพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์ (Solar wind) เดินทางผ่านมาที่ผิวโลกได้ โดยสนามแม่เหล็กจะกักให้อนุภาคเดินทางไปตามเส้นแรงแม่เหล็ก และเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้เพียงที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เท่านั้น  เมื่ออนุภาคพลังงานสูงปะทะกับโมเลกุลของแก๊สในชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดแสงสีสวยงาม สังเกตเห็นบนท้องฟ้ายามค่ำคืน เรียกว่า "แสงเหนือแสงใต้" (Aurora)
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 149.60 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 365.26 วัน
-  ความรีของวงโคจร 0.0167
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 0.00005°
-  แกนเอียง 23.45°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.93 ชั่วโมง
-  รัศมีของโลก 6,378 กิโลเมตร
-  มวล 5.97 x 1024 กิโลกรัม
-  ความหนาแน่น 5.515 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
-  แรงโน้มถ่วง 9.8 เมตร/วินาที
-  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไนโตรเจน ออกซิเจน 
-  อุณหภูมิพื้นผิว  -88°C ถึง 58°C
-  มีดวงจันทร์ 1 ดวง​ ไม่มีวงแหวน
4)     ดาวอังคาร  (Mars) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เท่าของโลก  ดาวอังคารมีโครงสร้างภายในประกอบด้วยแก่นของแข็งมีรัศมีประมาณ 1,700 กิโลเมตร ห่อหุ้มด้วยชั้นแมนเทิลที่เป็นหินหนืดหนาประมาณ 1,600 กิโลเมตร และมีเปลือกแข็งเช่นเดียวกับโลก   ดาวอังคารมีสีแดงเนื่องจากพื้นผิวประกอบด้วยออกไซด์ของเหล็ก (สนิมเหล็ก)  พื้นผิวของดาวอังคารเต็มไปด้วยหุบเหวต่างๆ มากมาย หุบเหวขนาดใหญ่ชื่อ หุบเหวมาริเนอริส (Valles Marineris) มีความยาว 4,000 กิโลเมตร กว้าง 600 กิโลเมตร ลึก 8 กิโลเมตร  นอกจากนี้ดาวอังคารยังมีภูเขาไฟที่สูงที่สุดในระบบสุริยะชื่อ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Mount Olympus) สูง 25 กิโลเมตร  ฐานที่แผ่ออกไปมีรัศมี 300 กิโลเมตร
        ดาวอังคารมีบรรยากาศเบาบางมาก ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งเกิดจากการระเหิดของน้ำแข็งแห้ง (คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง) ปกคลุมอยู่ทั่วไปบนพื้นผิวดาวอังคาร  ที่บริเวณขั้วเหนือและขั้วใต้ของดาวมีน้ำแข็ง (Ice water) ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา  ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ที่เป็นที่ชื่นชอบของผู้แต่งนิยายวิทยาศาสตร์ในหลายสิบปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีการสังเกตดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ และพบรูปร่างพื้นผิวที่คล้ายกับคลองส่งน้ำของมนุษย์ดาวอังคาร (ถ้ามีสิ่งมีชีวิตอยู่จริงบนดาวอังคาร) แต่หลังจากที่องค์การนาซาได้ส่งยานไปสำรวจดาวอังคารอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราทราบว่า ลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงร่องรอยที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพื้นผิวดาวอังคารโดยยานไวกิงออร์บิเตอร์ 1  และยานมาร์สโกลบอลเซอร์เวเยอร์พบร่องรอยท้องแม่น้ำที่เหือดแห้ง นักวิทยาศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเคยมีสิ่งมีชิวิตอยู่บนดาวอังคารมาก่อน ก็น่าจะมีซากหรือฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นใต้ท้องน้ำหรือใต้น้ำแข็งที่ขั้วทั้งสองของดาวอังคาร 
        ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบัสและดีมอส ดวงจันทร์ทั้งสองดวงมีรูปร่างไม่สมมาตร และมีขนาดเล็กกว่า 25 กิโลเมตร  สันนิษฐานว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารดูดจับมาเป็นบริวาร ภายหลังการก่อตัวของระบบสุริยะ
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 227.94 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 1.88 ปี (687 วัน) 
-  ความรีของวงโคจร 0.0934
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 1.8°
-  แกนเอียง 25.19°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 24.62 วัน
-  รัศมีของดาว 3,397 กิโลเมตร
-  มวล 0.107 ของโลก
-  ความหนาแน่น 0.714 ของโลก
-  แรงโน้มถ่วง 0.38 ของโลก
-  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน อาร์กอน
-  อุณหภูมิ  -87°C ถึง -5°C
-   มีดวงจันทร์ 2 ดวง ​ ไม่มีวงแหวน
5)    ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากเป็นอันดับที่ 4 รองจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวศุกร์  และเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์  ดาวพฤหัสบดีถูกสำรวจเป็นครั้งแรกโดยยานไพโอเนียร์ 10 ในปี พ.ศ.2516 ติดตามด้วย ไพโอเนียร์ 11, วอยเอเจอร์ 1, วอยเอเจอร์ 2, ยูลิซิส และกาลิเลโอ  ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์แก๊สซึ่งบรรยากาศหนาแน่น มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจน 90% และฮีเลียม 10% ปะปนด้วยมีเทน น้ำ และแอมโมเนียจำนวนเล็กน้อย ลึกลงไปด้านล่างเป็นแมนเทิลชั้นนอกซึ่งประกอบไปด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว และแมนเทิลชั้นในที่ประกอบไปด้วยไฮโดรเจนซึ่งมีสมบัติเป็นโลหะ และแก่นกลางที่เป็นหินแข็งมีขนาดเป็น 2 เท่าของโลก
        ดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่กว่าโลกมาก แต่หมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบใช้เวลาไม่ถึง 10 ชั่วโมง แรงหนีศูนย์กลางเหวี่ยงให้ดาวมีสัณฐานเป็นทรงแป้น  และทำให้การหมุนเวียนของชั้นบรรยากาศแบ่งเป็นแถบสีสลับกัน แถบเหล่านี้เป็นเซลล์การพาความร้อน (Convection cell) แถบสีอ่อนคืออากาศร้อนยกตัว แถบสีเข้มคืออากาศเย็นจมตัวลง นอกจากนั้นยังมีจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) เป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้าง 25,000 กิโลเมตร สามารถบรรจุโลกได้สองดวง จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนซึ่งมีอายุมากกว่า 300 ปี
        ปี พ.ศ.2552 ยานวอยเอเจอร์พบว่า ดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเสาร์ แต่มีขนาดเล็กและบางกว่ามาก วงแหวนเหล่านี้ประกอบไปด้วยเศษหินและฝุ่นที่มีขนาดเล็ก แต่ไม่มีน้ำแข็งเป็นองค์ประกอบ จึงทำให้วงแหวนไม่สว่างมาก (หินและฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ไม่ดีเท่ากับน้ำแข็ง)  ปัจจุบันพบว่า ดาวพฤหัสมีดวงจันทร์อย่างน้อย 62 ดวง แต่มีเพียง 4 ดวงที่เป็นดวงจันทร์ขนาดใหญ่และมีรูปร่างเป็นทรงกลม ได้แก่ ไอโอ ยุโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต เรียกโดยรวมว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน (Galilean moons) เนื่องจากเป็นดวงจันทร์ที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 778.41 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 11.86 ปี 
-  ความรีของวงโคจร 0.048
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 1.3°
-  แกนเอียง 3.12°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 9.92 ชั่วโมง
-  รัศมีของดาว 71,492 กิโลเมตร
-  มวล 317.82 ของโลก
-  ความหนาแน่น 1.33 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
-  แรงโน้มถ่วง 20.87 เมตร/วินาที2
-  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
-  อุณหภูมิ  -148°C
-  ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 62 ดวง ​วงแหวน 3 วง
6)    ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันมาตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ กาลิเลโอสังเกตดาวเสาร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2153  เขามองเห็นดาวเสาร์มีลักษณะเป็นวงรี จนกระทั่งปี พ.ศ.2202 คริสเตียน ฮอยเกนส์ พบว่าวงรีที่กาลิเลโอเห็นนั้นคือวงแหวนของดาวเสาร์  เป็นที่เชื่อกันว่าดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวของระบบสุริยะที่มีวงแหวน จนกระทั่งต่อมาได้มีการส่งยานอวกาศไปค้นพบวงแหวนบางๆ รอบดาวพฤหัสบดี ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาวเสาร์ถูกสำรวจโดยยานไพโอเนียร์ 11 ในปี พ.ศ.2522 ตามด้วยยานวอยเอเจอร์ 1 ยานวอยเอเจอร์ 2 และยานแคสสินีในปี พ.ศ.2547 บรรยากาศของดาวเสาร์เป็น ไฮโดรเจน 75% ฮีเลียม 25% ปะปนไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนีย จำนวนเล็กน้อย แถบสีบนดาวเสาร์เกิดขึ้นจากการหมุนรอบตัวเองเร็วมาก จนทำให้เกิดการหมุนวนของชั้นบรรยากาศที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน จึงปรากฏเป็นแถบเข้มและจางสลับกันไป โครงสร้างภายในของดาวเสาร์มีลักษณะคล้ายคลึงกับของดาวพฤหัสบดี มีแกนกลางที่เป็นหินแข็ง ห่อหุ้มด้วยแมนเทิลชั้นในที่เป็นโลหะไฮโดรเจน และแมนเทิลชั้นนอกที่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียมเหลว
                              ดาวเสาร์มีมวลมากจึงมีแรงโน้มถ่วงมาก สามารถดูดจับดาวเคราะห์น้อยและดาวหางมาเป็นบริวาร ได้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีดวงจันทร์ที่ถูกค้นพบแล้ว 62 ดวง ดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ไททัน  (Titan) มีขนาดใหญ่หว่าดาวพุธ ไททันมีชั้นบรรยากาศหนาแน่นกว่าโลก มีองค์ประกอบเป็นมีเทนทั้งสามสถานะ บนไททันมีฝนมีเทน เมฆมีเทน และมีเทนแข็ง  แก๊สไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ คล้ายคลึงกับชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์สนใจไททันมากเป็นพิเศษ เพราะอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่  ดวงจันทร์ที่มีขนาดรองลงมาได้แก่ รีอา ไดโอนี ไอเอพีทุส เทธิส เอนเซลาดุส และ มิมาส ส่วนใหญ่มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งและมีหินผสมอยู่เล็กน้อย
          วงแหวนดาวเสาร์
                              ดาวเสาร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 10 AU จึงไม่ถูกรบกวนจากลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ จึงไม่สูญเสียบรรยากาศชั้นนอกและมีมวลมาก มวลมากย่อมมีแรงโน้มถ่วงมาก สามารถดูดจับดาวหางที่โคจรผ่านเข้ามา  ดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็งจึงเปราะมาก  เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดาวเสาร์ แรงโน้มถ่วงมหาศาลจะทำให้เกิดแรงไทดัลภายในดาวหาง ด้านที่หันเข้าหาดาวเสาร์จะถูกแรงกระทำมากกว่าด้านอยู่ตรงข้าม ในที่สุดดาวหางไม่สามารถทนทานต่อแรงเครียดภายใน จึงแตกเป็นเศษเล็กเศษน้อยสะสมอยู่ในวงโคจรรอบดาวเสาร์และกลายเป็นวงแหวนในที่สุด ด้วยเหตุนี้วงแหวนของดาวเสาร์จึงประกอบด้วยอนุภาคจำนวนมหาศาลซึ่งมีวงโคจรอิสระ มีขนาดตั้งแต่เซนติเมตรไปจนหลายร้อยเมตร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำแข็ง ปะปนอยู่กับเศษหินเคลือบน้ำแข็ง วงแหวนของดาวเสาร์บางมาก แม้จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 250,000 กิโลเมตร แต่มีความหนาไม่ถึง 1.5 กิโลเมตร วงแหวนแต่ละชั้นมีชื่อเรียกตามอักษรภาษาอังกฤษ เช่น วงแหวนสว่าง (A และ B) และวงสลัว (C) ช่องระหว่างวงแหวน A และ B เรียกว่า ช่องแคสสินี (Cassini division )
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 1,427 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 29.4 ปี 
-  ความรีของวงโคจร 0.054
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 2.484°
-  แกนเอียง 26.73°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 10.66 ชั่วโมง
-  รัศมีของดาว 60,268 กิโลเมตร
-  มวล 95.16 ของโลก
-  ความหนาแน่น 0.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (น้อยกว่าน้ำ)
-  แรงโน้มถ่วง 7.2 เมตร/วินาที2
-  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
-  อุณหภูมิ  -178°C
-  ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 62 ดวง ​
-  วงแหวนที่ค้นพบแล้ว 7 วง
7)      ยูเรนัส (Uranus) ถูกค้นพบครั้งแรกโดย วิลเลี่ยม เฮอส์เชล ในปี พ.ศ.2534  สองร้อยปีต่อมา ยานวอยเอเจอร์ 2 ทำการสำรวจดาวยูเรนัสในปี พ.ศ. 2529 พบว่า บรรยากาศของดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83%, ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากแก๊สมีเทนดูดกลืนสีแดงและสะท้อนสีน้ำเงิน บรรยากาศมีลมพัดแรงมาก ลึกลงไปที่แก่นของดาวห่อหุ้มด้วยโลหะไฮโดรเจนเหลว  ขณะที่ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่มีแกนหมุนรอบตัวเองเกือบตั้งฉากกับระนาบสุริยวิถี แต่แกนของดาวยูเรนัสวางตัวเกือบขนานกับสุริยวิถี ดังนั้นอุณหภูมิบริเวณขั้วดาวจึงสูงกว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดาวยูเรนัสมีวงแหวนเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงอื่นๆ วงแหวนของดาวยูเรนัสมีความสว่างไม่มาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็ก มีขนาดตั้งแต่ฝุ่นผงจนถึง 10 เมตร  ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารอย่างน้อย 27 ดวง ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม ได้แก่ มิรันดา แอเรียล อัมเบรียล ไททาเนีย และ โอเบรอน
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 2,870 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 80 ปี 
-  ความรีของวงโคจร 0.047
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 0.77°
-  แกนเอียง 97.86°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 17.24 ชั่วโมง
-  รัศมีของดาว 25,559 กิโลเมตร
-  มวล 14.371 ของโลก
-  ความหนาแน่น 1.32 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
-  แรงโน้มถ่วง 8.43 เมตร/วินาที2
-  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
-  อุณหภูมิ  -216°C
-  ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 27 ดวง 
-  วงแหวนที่ค้นพบแล้ว 13 วง
8)      ดาวเนปจูน  (Neptune) ถูกค้นพบเนื่องจากนักดาราศาสตร์พบว่า ตำแหน่งของดาวยูเรนัสในวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นไปตามกฏของนิวตันจึงตั้งสมมติฐานว่า จะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ไกลถัดออกไปมารบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัส ในที่สุดดาวเนปจูนก็ถูกค้นพบโดย โจฮานน์ กัลเล ในปี พ.ศ.2389  ต่อมาในปี พ.ศ.2532 ยานวอยเอเจอร์ 2 พบว่า ดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส คือ มีบรรยากาศเป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม และมีมีเทนเจือปนอยู่จึงมีสีน้ำเงิน ดาวเนปจูนมีขนาดเล็กกว่าดาวยูเรนัสเล็กน้อย แต่มีความหนาแน่นมากกว่า โดยที่แก่นของดาวเนปจูนเป็นของแข็งมีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเรา  ในช่วงเวลาที่ยานวอยเอเจอร์ 2 เข้าใกล้ดาวเนปจูนได้ถ่ายภาพ จุดมืดใหญ่ (Great dark spot) ทางซีกใต้ของดาวมีขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (ประมาณเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก) จุดมืดใหญ่นี้เป็นพายุหมุนเช่นเดียวกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี มีกระแสลมพัดแรงที่สุดในระบบสุริยะ ความเร็วลม 300 เมตร/วินาที หรือ 1,080 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
                              ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 วง แต่ละวงมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส  ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 13 ดวง ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดชื่อ "ทายตัน" (Triton)  ทายตันเคลื่อนที่ในวงโคจรโดยมีทิศทางสวนกับการหมุนรอบตัวเองของดาวเนปจูน ซึ่งอาจเป็นเพราะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเนปจูนจับเป็นบริวารภายหลังจากการก่อตัวของระบบสุริยะ  นักดาราศาสตร์พยากรณ์ว่า ทายตันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนเรื่อยๆ และจะพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด (อาจใช้เวลาเกือบ 100 ล้านปี)
ข้อมูลสำคัญ​
-  ระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ 4,498 ล้านกิโลเมตร
-  คาบวงโคจร 164.8 ปี 
-  ความรีของวงโคจร 0.0086
-  ระนาบวงโคจรทำมุมกับระนาบสุริยวิถี 1.769°
-  แกนเอียง 29.58°
-  หมุนรอบตัวเองใช้เวลา 16.11 ชั่วโมง
-  รัศมีของดาว 24,764 กิโลเมตร
-  มวล 17.147 ของโลก
-  ความหนาแน่น 1.64 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
-  แรงโน้มถ่วง 10.71 เมตร/วินาที2
-  องค์ประกอบหลักของบรรยากาศ ไฮโดรเจน ฮีเลียม
-  อุณหภูมิ  -214°C
-  ดวงจันทร์ที่ค้นพบแล้ว 13 ดวง 
-  วงแหวนที่ค้นพบแล้ว 6 วง
2.3  ดาวหาง
ดาวหาง (Comet) เป็นวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะประเภทหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยสารประกอบระเหยง่าย (Volatile) ในสภาพเยือกแข็งและฝุ่น เป็นเศษซากที่อุดมไปด้วยน้ำแข็งที่หลงเหลือจากการก่อตั้งของดาวเคราะห์ เมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีที่แล้ว  ที่ใจกลางของดาวหาง เรียกว่า นิวเคลียส” (Nucleus) ซึ่งจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ แม้จะสังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ตาม เนื่องจากดาวหางส่วนใหญ่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์และโลกมาก อีกทั้งนิวเคลียสของดาวหางส่วนใหญ่แล้ว มักมีขนาดเพียงไม่กี่กิโลเมตร
เมื่อดาวหางโคจรเข้ามายังระบบสุริยะชั้นใน นิวเคลียสของดาวหางจะถูกห่อหุ้มด้วยชั้นที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลมของก๊าซและฝุ่น เรียกว่า โคมา” (Coma) ชั้นโคมาได้รับฝุ่นและก๊าซ จากการประทุเป็นลำเจ็ตที่พื้นผิวของนิวเคลียส ซึ่งได้รับพลังงานจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์
องค์ประกอบทางเคมีของชั้นโคมา ส่วนใหญ่เป็น ไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีคาร์บอน, ไฮโดรเจน และไนโตรเจนอยู่บ้าง ซึ่งชั้นโคมาของดาวหางบางดวงเมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ ก็ปรากฏแสงเรืองสีเขียวของไซยาโนเจน (CN) และโมเลกุลของคาร์บอน (C2) ปรากฏการณ์ดังกล่าว เรียกว่า “Resonant Fluorescence” (กระบวนการเรืองแสงจากอะตอมหรือโมเลกุล โดยแสงที่ปล่อยออกมาจะมีความยาวคลื่นเดียวกันกับแสงที่อะตอมหรือโมเลกุลดังกล่าวดูดกลืน)
2.4  อุกาบาต ดาวตก
                อุกกาบาต (meteorite) คือ วัตถุขนาดเล็กในอวกาศที่ผ่านบรรยากาศลงมาถึงพื้นโลก ขณะอยู่ในอวกาศเรียกว่า "สะเก็ดดาว" ขณะเข้าสู่บรรยากาศเรียกว่า "ดาวตก". เราสามารถพบอุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร อุกกาบาตประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน  ปะปนอยู่ในอุกกาบาตบางชนิดเท่านั้น ซึ่งจะเป็นชนิดเหล็กและนิกเกิล
การที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว     เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกจะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนและเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที ปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมาก เราจึงเรียกว่า ฝนดาวตก” (Meteor shower)
วัตถุนอกโลก (meteoloid) มีโอกาสหลุดเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกได้มากทีเดียว (meteor)   ส่วนใหญ่จะลุกไหม้เป็นไฟมีทางยาวที่เรียกกันว่าผีพุ่งไต้ (shooting star)มักจะลุกไหม้จนหมดก่อนถึงผิวโลกและพบว่ามีเปอร์เซนต์ถึงผิวโลกได้น้อย นับเป็นสิ่งที่ดีที่โลกของเรามีชั้นบรรยายคอยปกป้องวัตถุนอกโลก บนดวงจันทร์ ดาวอังคาร หรือดาวดวงอื่นๆที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ   พื้นผิวจะเป็นหลุมเป็นบ่อด้วยการกระแทกของอุกาบาตนี้ นอกจากนี้แล้ว อุกาบาตที่หล่นลงบนผิวโลก ส่วนใหญ่หล่นลงทะเล (พื้นที่น้ำทะเลประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นผิวโลก) นอกจากนี้อาจตกลงในป่า หรือสถานที่อื่นใดที่ห่างไกลจากชุมชน   โอกาสที่มนุษย์จะได้เห็นอุกาบาตหล่นต่อหน้าต่อตาจึงถือว่าน้อย
อุกาบาตมี 4 ประเภทตามลักษณะองค์ประกอบ คือ
1. Iron - ประกอบด้วยเหล็กและนิเคิล
2. Stony iron - เป็นส่วนผสมระหว่างเหล็กและหิน
3. Chondrite - มีองค์ประกอบเหมือนชั้นแมนเทิลและเปลือกโลกบนพื้นทวีป
4. Carbonaceous chondrite - เหมือนองค์ประกอบของดวงอาทิตย์
5. Achondrite - มีองค์ประกอบคล้ายหินบะซอลท์ เชื่อว่ามีแหล่งกำเนิดมาจากดวงจันทร์
ดาวตก (Meteor)
ดาวตก หรือผีพุ่งใต้ (Meteor) เป็นเพียงอุกกาบาต (Meteoroids) เศษวัตถุเล็ก ๆ หรือฝุ่นที่เกิดตามทางโคจรดาวหาง      เมื่อเศษวัตถุเหล่านี้ตกผ่านชั้นบรรยากาศโลก ก็จะถูกเสียดสีและเผาไหม้เกิดเป็นแสงให้เห็นในยามค่ำคืน ในบางครั้งวัตถุขนาดใหญ่สามารถลุกไหม้ผ่านชั้นบรรยากาศ และตกถึงพื้นโลกได้ เราเรียกว่า "ก้อนอุกกาบาต" (Meteorite)
      การที่ดาวหางโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ได้ทิ้งเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กตามแนวเส้นทางโคจร   ในแต่ละปีโลกจะโคจรผ่านบริเวณดังกล่าว    เมื่อเศษฝุ่นเหล่านี้ผ่านเข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกจะถูกเสียดสีกับชั้นบรรยากาศทำให้เกิดความร้อนและเผาไหม้เศษวัตถุนั้นภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีปรากฏให้เห็นเป็นเส้นสว่างสวยงามเป็นจำนวนมากเราจึงเรียกว่า ฝนดาวตก (Meteor shower)



บทที่ 3

ขั้นตอนการดำเนินงาน


รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงาน มีดังต่อไปนี้

1.1.เสนอหัวข้อโครงงาน

  • เสนอหัวข้อ เรื่อง การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์เพื่อการศึกษา  เรื่องระบบสุริยะ  ศึกษาค้นคว้าและนำเสนอขออนุมัติต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
    1.2.ศึกษาและรวบรวมเนื้อหาที่จะต้องใช้ผลิตสื่อ ค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับ   ระบบสุริยะ  ดาวเคราะห์  ดาราศาสตร์ จากทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต
  • ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับระบบสุริยะ  ดาวเคราะห์  ดาราศาสตร์  ที่หอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นระยะเวลาตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 1 เดือนมกราคม – สัปดาห์ที่ 4 เดือนมกราคม
    1.3.วิเคราะห์จัดแยกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อใช้ในการสร้างเนื้อหาในส่วนต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
  • วิเคราะห์จัดแยกข้อมูลเป็นหมวดหมู่ มีทั้งหมด 4 หัวข้อ ดังต่อไปนี้

  1.  ระบบสุริยะ
  2.  บริวารของดวงอาทิตย์
  3.  ดาวหาง
  4.  อุกาบาต ดาวตก
    1.4.พัฒนาสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา เรื่องระบบสุริยะ ผ่านทาง YouTubeตามที่ได้ออกแบบ

  • สร้างวิดีโอเพื่อการเรียนรู้ เรื่องระบบสุริยะ ออกแบบงานตามที่เราต้องการ
    1.5.สร้างแบบประเมินด้านต่างๆและนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ประเมินชิ้นงาน แล้วทำการปรับปรุงต้นแบบชิ้นงานตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำ
  • สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ แบบมาตราฐานส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคริ์ท คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด
  • ประเมินคุณภาพชิ้นงาน โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ
    1.6.ทดลองการใช้ศึกษาผ่านเว็บบล็อกโดยทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์แก้ไขปรับปรุง
    -      ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน โครงงานการพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ เรื่อง ระบบสุริยะ  
    มีวิธีทดสอบ ดังนี้

  1. ให้ผู้เรียนเข้า http://yossakoolsks.blogspot.com/
  2. ผู้เรียนกดเข้าลิ้งค์แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
  3. ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทำแบบทดสอบออนไลน์
  4. เมื่อลงมือปฏิบัติเสร็จแล้ว ให้ผู้เรียนส่งแบบทดสอบผ่านออนไลน์โดยคลิกปุ่มส่งทางด้านล่างของแบบทดสอบ
    1.7.จัดทำรายงาน นำเสนอโครงงาน และเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ โดยผ่าน Blogger.com
    - รวบรวม และวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์
           - จัดทำรูปเล่มรายงาน เพื่อนำเสนอโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
          - เผยแพร่รูปเล่มรายงาน ผ่านทาง  http://yossakoolsks.blogspot.com/


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้จัดทำได้ทราบถึงกระบวนการการจัดทำโครงงาน อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  2. สื่อวีดีทัศน์เรื่องระบบสุริยะที่ได้เผยแพร่ออกไปนี้  จะสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. เพื่อนำความรู้ที่เรียนมาไปสร้างสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคม
  4. ได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้อย่างมีคุณค่าและสร้างสรรค์

ขั้นตอนการผลิตสื่อวีดีทัศน์
  1.  หน้าแรก  คือหน้านำเสนอหัวข้อเรื่อง

       2. หน้าที่สอง  คือหน้าที่กล่าวถึงความหมาย การกำเนิด  ของระบบสุริยะ


        3.  หน้าที่สาม  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดวงอาทิตย์  
 
       4. หน้าที่สี่  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวพุธ
  
     5. หน้าที่ห้า  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวศุกร์



    6.  หน้าที่หก  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวโลก

7. หน้าที่เจ็ด  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวอังคาร
 

    8. หน้าที่แปด คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวพฤหัสบดี




9. หน้าที่เก้า  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวเสาร์

10. หน้าที่สิบ  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวยูเรนัส



11.  หน้าที่สิบเอ็ด  คือหน้าที่กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปของดาวเนปจูน 










บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้กำหนดสัญลักษณ์ที่ใช้ดังนี้
N แทน จำนวนนักเรียน
X แทน ผลรวมของคะแนน
แทน ผลรวมของคะแนน แต่ละตัวยกกา ลังสอง 2 X
แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนน
แทน ความแปรปรวนของคะแนน 2 S
df แทน ชั้นแห่งความเป็นอิสระ
t แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณา
* แทน ความมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยได้นา แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบทดสอบเรื่องระบบสุริยะ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 25 ข้อ ไปทดสอบกับผู้เรียนจำนวน 37 คน แล้วนำคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้และหลังมาใช้ เปรียบเทียบ โดยใช้ t – test ปรากฏผลดังตาราง

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ก่อนการดูวีดีทัศน์
หลังการดูวีดีทัศน์

ค่าเฉลี่ย
60.60
76.72

ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
5.91
6.25

T= 4.927

สรุปผลหลังการใช้สื่อวีดีทัศน์เรื่องระบบสุริยะ
ผลปรากฏว่า ค่าเฉลี่ยแบบทดสอบหลังการดูวีดีทัศน์เรื่องระบบสุริยะมากกว่า ก่อนการดูวีดีทัศน์เรื่องระบบสุริยะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงสรุปได้ว่า สื่อวีดีทัศน์เรื่องระบบสุริยะ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ จากการศึกษาสื่อวีดีทัศน์ เรื่องระบบสุริยะ



บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การจัดทำโครงการครั้งนี้ ผู้จัดทำต้องการศึกษาค้นคว้าผลการใช้สื่อวีดีทัศน์ เพื่อนพัฒนาทักษะ ของผู้เรียนพอสรุปได้ดังนี้
อภิปรายผล
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ที่ใช้สื่อวี ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าดีทัศน์เรื่องระบบสุริยะ ก่อนการดูวีดีทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้จัดทำได้สร้างแบบทดสอบด้วยหลักการที่ว่า ผู้เรียนเริ่มเรียนจากเนื้อหาที่ง่าย ๆ ไปสู่เนื้อหาที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น และสัมพันธ์กับความรู้กลุ่มทักษะวิชาภาษาไทยในระดับชั้นนั้นด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของดวงเดือน อ่อนน่วมและคณะ (2536:19:23) เกี่ยวกับการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ว่า ครูต้องสอนให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหา และสามารถเขียนประโยคสัญลักษณ์ที่เริ่มจากการเรียนโจทย์ปัญหาที่ง่าย ใช้ภาษาหรือถ้อยคาที่นักเรียนคุ้นเคยสถานการณ์ในโจทย์ปัญหาควรเป็นเรื่องที่สามารถใช้สื่อที่เป็นของจริงหรือของจาลองประกอบการสอนได้ แล้วจึงเริ่มสอนโจทย์ปัญหาที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น รัชนี ศรีไพรวรรณ (2517:412 - 413) ได้ให้ทรรศนะเชิงจิตวิทยาพัฒนาการว่า แบบฝึกหัดที่สร้างขึ้น ควรสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน และหลาย ๆ แบบ เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างกว้างขวาง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิด นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของหลาย ๆ ท่าน

สรุปผล
จากการศึกษาและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพอสรุปได้ว่า นักเรียนที่ได้รับการศึกษาสื่อเรื่องระบบสุริยะโดยการใช้สื่อ สื่อประสมรูปแบบต่าง ๆ จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนจากการสอนของครูตามปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก สื่อที่ใช้มีประสิทธิภาพ มีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำซากจำเจ มีภาพและภาษาที่ใช้เหมาะสมกับวัยและพื้นฐานความรู้ของนักเรียน ซึ่งเป็นการเร้าความสนใจของนักเรียนให้เกิดความสนใจ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ด้วยความเข้าใจ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นตามลำดับ



ข้อเสนอแนะ
1)            ครู  อาจารย์  บุคลากรทางการศึกษา  ควรจะให้ความสนใจในการการผลิตสื่อวีดีทัศน์ให้มากยิ่งขึ้น  เพราะเป็นสื่อที่นักเรียนให้ความสนใจ  ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายเหมือนกับการเรียนในห้องเรียนปกติ
2)            ผู้ที่จะจัดทำสื่อวีดีทัศน์เพื่อการศึกษา  ควรจะศึกษาเนื้อหาให้ถูกต้องโดยละเอียด  และเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นไปตามกระบวนการ
3)            ผู้เรียนควรให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องระบบสุริยะ  ดาราศาสตร์มากขึ้น แม้จะไม่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิต  แต่คือความรู้รอบตัวที่ผู้เรียนควรจะศึกษาติดตัวไว้
 







บรรณานุกรม



ลิซ่า ไมล์ส และ อลาสแตร์ สมิธ. (2551).  ดาราศาสตร์และอวกาศ ฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น จำกัด.
ทอม โจนส์ และ เอลเลน สโตแฟน. (2552).  เผยความลับอาณาจักรดาวเคราะห์. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
Robin Kerrod and Giles Sparrrow. (2553).  วิถีความเป็นไปแห่งเอกภพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ปาเจรา.
ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โลก และดาราศาสตร์. ดาราศาสตร์[ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558. เข้าถึงได้จาก : http://www.lesa.biz/astronomy
Myfirstbrain . ระบบสุริยะจักรวาล[ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558. เข้าถึงได้จาก : http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=70070
โรงเรียนอนุบาลศรีนคร. อุกาบาต ดาวตก [ออนไลน์]. สืบค้นวันที่ 25 มีนาคม  2558. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaigoodview.com/library/sema/sukhothai/jantip_k/sec02p09.htm